คลังบทความของบล็อก

@ ประวัติความเป็นมาของแท็บเล็ต

วิวัฒนาการของ แอนดรอยด์ (Android)

ที่มาข้อมูล  http://www.otpchelp.com/android-evalution.php
ภาพแสดง วิวัฒนาการแอนดรอยด์

แอนดรอยด์ เริ่มพัฒนาเมื่อปี พ.ศ.2550 โดยบริษัท แอนดรอยด์ร่วมกับ Google จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2550 ได้มีการร่วมมือกันกว่า 30 บริษัทชั้นำเพื่อพัฒนาระบบ โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า OHA (Open Handset Alliance) โดยแบ่งออกเป็นเวอร์ชั่น และมีชื่อเรียกแต่ละเวอร์ชั่นเป็นชื่อขนมหวาน โดยเรียงลำดับตามตัวอักษร A-Zเรามาค่อยๆ ดูไปทีละเวอร์ชั่นของ แอนดรอยด์ว่ามีวิวัฒนาการเป็นอย่างไร แล้วปัจจุบัน มันไปถึงเวอร์ชั่นอะไรแล้ว


ภาพแสดง แอนดรอยด์ในแต่ละ เวอร์ชั่น

แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 1.0
ในรุ่นนี้ยังไม่มีชื่อเล่น (หากมีชื่อเล่น จะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A) ออกตัวเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2550
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 1.5 ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า คัพเค้ก (Cupcake) เปิดตัวเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2552 เป็นรุ่นที่ถูกนำมาผลิตเพื่อการค้าอย่างเต็มรูปแบบ และบริษัทที่นำมาใช้ในโทรศัพท์ของตนเองพร้อมขายทั่วโลกคือ Samsung โดยนำมาติดตั้งในเครื่อง Samsung i5700 Spica

แอนดรอยด์ คัพเค้ก Cupcake

ภาพ มือถือ Samsung i5700 Spica ที่ใช้ cupcake
ภาพตัวอย่างมือถือรุ่น Samsung i5700 Spica ที่ได้ใช้แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 1.5
หรือ แอนดรอยด์ คัฟเค้ก (Cupcake) เป็นระบบปฏิบัติการ


แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 1.6 ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า โดนัท (Donut) ออกตัวเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2552 มีการปรับปรุงแก้ไขข้กบกพร่องของเวอร์ชั่น 1.5 มีโทรศัพท์หลายรุ่นที่ได้นำมาใช้ โดยแอนดรอยด์เวอร์ชั่นนี้สามารถจัดให้มีการอัพเกรดออนไลน์ (Over The Air : OTA)

แอนดรอยด์ 1.6 หรือ โดนัท Donut

มือถือ HTC A3288 Tattoo ที่ใช้ donut
ภาพตัวอย่างมือถือรุ่น HTC A3288 Tattoo Android Donut ที่ได้ใช้แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 1.6
หรือ แอนดรอยด์ โดนัท (Donut) เป็นระบบปฏิบัติการ


แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 2.0 ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า อีเคร์ (Eclair) แปลว่า ขนมหวานรูปยาวมีคริมข้างในออกตัวเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2552 โดยบริษัท Motorola ได้นำเวอร์ชั่นนี้ลงบนโทรศัพท์แบบสไลด์ ชื่อรุ่น Milestones ประเทศไทยได้นำมาวางขายผ่านเครือข่าย True

android 2.0 Eclair

Motorola Milestones ที่ใช้ แอนดรอยด์ Eclair
ภาพตัวอย่างมือถือรุ่น Motorola Milestones ที่ได้ใช้แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 2.0
หรือ แอนดรอยด์ อีเคร์ (Eclair) เป็นระบบปฏิบัติการ


แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 2.2 ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า โฟรโย่ (Froyo) แปลว่าโยเกิร์ตแช่แข็ง (Froyo - Frozen yogurt) ออกตัวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2553 โดยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชั่นนี้ได้ถูกติดตั้งในโทรศัพท์รุ่น Google Nuxus One ซึ่งบริษัท Google มอบหมายให้ทางบริษัท HTC เป็นโรงงานผลิต

แอนดรอยด์ 2.2 Froyo (Frozen Yogurt)

HTC Google Nexus One ที่ใช้ แอนดรอยด์ 2.2 Froyo
ภาพตัวอย่างมือถือรุ่น HTC Google Nexus One ที่ได้ใช้แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 2.2
หรือ แอนดรอยด์ โฟรโย่ (Froyo) เป็นระบบปฏิบัติการ


แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 2.3 ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า จิงเกอร์เบรด (Gingerbread) เจ้าขนมปังขิง ออกตัวเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2553 เป็นรุ่นที่ถือได้ว่ามีการนำมาใช้งานในโทรศัพท์มือถือมากที่สุดความสามารถที่เพิ่มเข้ามาในเวอร์ชั่นนี้จะพิเศษที่ระบบการสื่อสารแบบใหม่ชื่อเรียกว่า Near Field Communication (NFC) เป็นระบบการจ่ายเงินผ่านโทรศัพท์ได้ โดยที่โทรศัพท์ต้องมีอุปกรณ์ที่รองรับระบบ NFC ด้วย เวอร์ชั่นนี้ได้ถูกลงบนโทรศัพท์ของ Google เช่นเดิม เป็นรุ่นที่ 2 ต่อจาก HTC Nexus One แต่ครั้งนี้ Google ให้บริษัท Samsung เป็นผู้ผลิตให้ และใช้ชื่อว่า Google Nexus S

android 2.3 Gingerbread

Samsung Google Nexus One ใช้ android 2.3 gingerbread
ภาพตัวอย่างมือถือรุ่น Samsung Google Nexus One ที่ได้ใช้แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 2.3
หรือ แอนดรอยด์ จิงเกอร์เบรด (Gingerbread) เป็นระบบปฏิบัติการ


แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 3.0 ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า ฮันนี่คอม (Honeycomb) รังผึ้ง ออกตัวเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 ระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นนี้ถูกพัฒนาเพื่อใช้กับ Tablet โดยเฉพาะ ถูกติดตั้งในแท็บเล็ต Motorola ในรุ่น XOOM เป็นรุ่นแรก

android honeycomb 3.0


Motorola Xoom Honeycomb
ภาพตัวอย่างแท็บเล็ต Motolora Xoom ที่ได้ใช้แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 3.0
หรือ แอนดรอยด์ ฮันนี่คอม (Honeycomb) เป็นระบบปฏิบัติการ


แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 4.0 ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า ไอศรีมแซนวิช (ICS : Ice Cream Sandwich) ออกตัวเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2554 เวอร์ชั่นนี้จะสามารถใช้งานได้ทั้งในโทรศัพท์ และแท็บเล็ต ทำให้บริษัทผู้ผลิตเตรียมอัพเกรดอุปรณ์ของตนเองเพื่อให้สามารถใช้งานเวอร์ชั่นนี้ได้ โทรศัพท์รุ่นที่รับการติดตั้งระบปฏิบัติการเวอร์ชัั่นนี้ได้แก่ Google Galaxy Nexus และแท็บเล็ตเครื่องแรกที่ได้รับการอัพเกรดเป็นเวอร์ชั่นนี้ได้แก่ Asus Transformer Prime span class='highlight red'>โดยแอนดรอยด์เวอร์ชันนี้ จะเป็นพระเอกสำหรับโครงการ OTPC ก็ว่าได้ เพราะเป็นระบบปฏิบัติการที่แท็บเล็ตในโครงการใช้งาน ทำไมต้องไอศรีมแซนวิช (ICS)

android 4.0 Ice Cream Sanwich

Samsung Galaxy Nexus Android 4.0 ICS
ภาพตัวอย่างมือถือรุ่น Samsung Galaxy Nexus ที่ได้ใช้แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 4.0
หรือ ไอศรีมแซนวิช (ICS : Ice Cream Sandwich) เป็นระบบปฏิบัติการ


แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 4.1 ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า เจลลี่บีน (JB : Jelly Bean) เวอร์ชั่นนี้จะเน้นเพิ่มความสามารถทางด้านความเร็วเป็นหลัก เพราะแอนดรอยด์ชอบโดนดูถูกเรื่องความ อืด ความช้า เมื่อเทียบกับ IOS ในเวอร์ชั่นนี้จึงเน้น ที่ความเร็วไหลลื่นให้ผู้ใช้ไม่มีสะดุด ด้วยเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า V-Sync adaptations และ triple buffering จะนำคุณเข้าสู่ประสบการณ์การเรนเดอร์หน้าจอระดับ 60 เฟรมต่อวินาที (FPS) โดยมีผลิตภัณฑ์ ของ Google ก็คือ แท็บเล็ต Nexus 7 ที่ผลิตโดยโรงงานของ Asus เป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกที่ได้นำ Jelly Bean เป็นระบบปฏิบัติการ หลังจาก Google ได้เปิดจำหน่าย Nexus 7 ไปแล้ว ถึงได้ทำการเปิดโค้ด (Source Code) ให้กับผู้ผลิตแบรนด์อื่นๆ ได้นำ Jelly Bean ไปใช้งาน ไปพัฒนาต่อไป

Android 4.1 Jelly Bean

Asus Nexus 7 Jelly Bean 4.1
ภาพตัวอย่างมือถือรุ่น Asus Nexus 7 ที่ได้ใช้แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 4.1
หรือ เจลลี่บีน (JB : Jelly Bean)เป็นระบบปฏิบัติการ




วีดีโอแสดงการเปรียบเทียบการทำงานระหว่าง แอนดรอยด์ไอศรีมแซนวิส (ICS : Ice Cream Sanwich) กับ แอนดรอยด์เจลลี่บีน (JB : Jelly Bean) ว่าความละเอียดในการทำงานของหน้าจอแบบไหน ทำงานดีกว่ากัน


ความสามารถของ แอนดรอยด์ ไอศรีมแซนวิช
(Android ICS : Ice Cream Sandwich)


ภาพโลโก้แอนดรอย์ 4 ไอศรีมแซนวิช

เราได้เรียนรู้มาเบื้องต้นแล้วว่า แอนดรอยด์ (Android) คืออะไร เป็นระบบปฏิบัติการแบบไหนอย่างไร และวิวัฒนาการ แอนดรอยด์ (Android) ว่ามีความเป็นมาอย่างไรจนกว่าจะมาถึง แอนดรอยด์เวอร์ชั่น 4 หรือ แอนดรอยด์ไอศรีมแชนวิช (Android Ice Cream Sandwich) ผมก็เลยอยากจะมาแนะนำฟีเจอร์ หรือความสามารถใหม่ๆของแอนดรอยด์เวอร์ชั่นนี้ ว่ามันมีอะไรน่าสนใจ มีความสามารถใดเพิ่มขึ้นมาให้เราน่าเล่น น่าลอง น่าใช้งาน เรามาค่อยไล่ดูกันไปทีละฟีเจอร์

ภาพ User Interface ใหม่ของแอนดรอยด์ 4
User Interface (UI)
สำหรับ UI บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.0 Ice Cream Sandwich นั้น เป็นการผสมผสานกันระหว่าง ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.3 จิงเกอร์เบรด (Gingerbread) และระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 3.0 ฮันนี่คอม (Honeycomb) โดยเป็นการผสานเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานที่ง่ายขึ้นทั้งการนำ ICS ไปใช้งานกับ แท็บเล็ต และ สมาร์ทโฟน แต่โดยรวมระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.0 ไอศรีมแซนวิช (ICS : Ice Cream Sandwich) จะโน้มเอียงมาทาง Honeycomb ซะส่วนใหญ่ อย่างเช่น หน้าจอตอนปลดล็อค รวมไปถึงปุ่ม 3 ปุ่มอย่าง ปุ่ม Back, Home และ Multitasking นอกจากนี้ หน้า Homescreen นั้น ยังสามารถสร้างโฟลเดอร์ รวมแอพพลิเคชั่นให้เป็นหมวดหมู่ได้ คล้ายๆ กับบน iOS ครับ

ภาพ ระบบแจ้งเตือน
Notification (ระบบแจ้งเตือน)
โดยระบบนี้ได้ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นจากเวอร์ชั่นก่อนหน้า โดยระบบแจ้งเตือนนี้จะสามารถเรียกใช้งานได้ที่หน้า Lock Screen (หน้าที่ต้องปลอดล็อค) ได้ทันที เช่นเดียวกับหมวดกล้องถ่ายรูป โดยไม่ต้องทำการปลดล็อคเหมือนแต่ก่อนทำให้เพิ่มความรวดเร็วในการตรวจเช็ค และเข้าถึงการแจ้งเตือนอย่างรวดเร็ว


ภาพ แสดงการทำงานของ visual multitasking
Visual Multitasking (วิชวลมัลติทาสกิ้ง)
โดยระบบนี้จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้ Application ที่ถูกเปิดใช้งานก่อนหน้า ได้จากกดปุ่มนี้เพียงปุ่มเดียวครับ โดยที่ไม่จำเป็นต้องปิด แอพพลิเคชั่นที่ได้ใช้งานอยู่ ณ ปัจจุบัน ทำให้มีการเปลี่ยนหน้าจอ หรือสลับหน้าจอเพื่อไปใช้งานแอพพลิเคชั่นก่อนหน้าที่เคยเปิดใช้งาน ได้อย่างง่ายดาย


ภาพ การใช้งาน Data Usage
Data Usage (การควบคุมการใช้ข้อมูล)
โดยระบบนี้จะเป็นการควบคุม ป้องกันการใช้งานข้อมูลเกินขอบเขตที่เราต้องการ ทำให้ผู้ใช้งานไม่เสียเงินกับการใช้งานเกินกำหนดของ แพ็คเกจ ที่ซื้อไว้ เช่น ถ้าเราซื้อแพ็คเกจที่ใช้ อินเตอร์เน็ตใช้งานได้ไม่เกิน 50MB ต่อเดือน ถ้าเราใช้เกินจากนี้ก็ต้องเสียเงินเพิ่มเติมในอัตราที่ต้องจ่าย นอกเหนือจากแพ็คเกจ เราก็สามารถบล็อคการเข้าถึงข้อมูลได้ว่า เดือนนี้เราห้ามใช้เกิน 50MB ถ้าเกินกว่านี้ระบบจะไม่ให้ใช้งานอินเตอร์เน็ต เป็นต้น


ภาพ การใช้งาน voice control
Voice Control (ระบบสั่งงานด้วยเสียง)
โดยระบบนี้ทำให้เราสามารถ สั่งงานด้วยเสียง ค้นหาด้วยเสียง ใช้เสียงในการพิมพ์ แทนการพิมพ์ด้วย คีย์บอร์ด ทำให้การทำงานเร็วขึ้น แต่อย่าลืมน่ะครับ สำเนียง ภาษาต้องได้พอควรน่ะครับ


ภาพการใช้งาน ระบบบันทึกเว็บไซต์
Save for offline reading (ระบบบันทึกเว็บไซต์)
โดยระบบนี้ทำให้เราสามารถ บันทึกหรือเซฟเว็บไซต์เพื่อไว้ดููแบบออฟไลน์ และดีไซน์ tab ใหม่ ให้สามารถเพิ่ม new tab ได้สูงสุดถึง 16 อันด้วยกัน นอกจากนี้ ยังสามารถดูเว็บไซต์ในโหมด Desktop ได้อีกด้วย


ระบบ ปลดล็อคด้วยใบหน้า face unlock
Face Unlock (ปลดล็อคหน้าจอด้วยใบหน้า)
โดยระบบนี้จะเป็นการปลดล็อคโดยการแสกนใบหน้าของผู้ใช้งาน แต่ก็ต้องคำนึงถึงความละเอียดกล้อง แสงสว่างด้วย (ยังไม่ค่อยเสถียรเท่าที่ควร เท่าที่ผมได้ลอง เพราะว่าสามารถใช้รูปถ่ายในการปลดล็อคได้ แต่ได้ถูกแก้ไขใน android version Jelly Bean เรียบร้อยแล้ว)






เพิ่มเติมเกี่ยวกับ แอนดรอยด์เวอร์ชั่นนี้ ว่ามันดีขนาดไหน

      1. การพัฒนาแอพพลิเคชั่น (Application) จะง่ายขึ้น เพราะ android ในเวอร์ชั่นก่อนๆ เวลาพัฒนา แอพพลิเคชั่นทีจะต้องนึกถึง มือถือรุ่นนั้น แท็บเล็ตรุ่นนี้ต้องพัฒนาอย่างไง เพื่อให้ใช้งานได้ ทำให้การพัฒนาแอพ 1 ครั้งอาจใช้ไม่ได้ทุกอุปกรณ์ที่ใช้แอนดรอยด์ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเพราะ Ice Cream Sandwich แอนดรอยด์ มีเครื่องมือตัวใหม่ ที่จะทำให้พวกเค้าสามารถพัฒนา Apps ตัวเดียว แต่สามารถรันได้ทั้งบน Smartphone, Tablet หรือว่าอุปกรณ์ตัวอื่นๆ ได้แล้วนั่นเอง
      2. เพิ่มความสามารถทางด้าน 3D Android Ice Cream Sandwich เพิ่มความสามารถของ HeadTracking สำหรับจับตำแหน่งหัวของเราด้วยกล้องหน้าได้ ทีนี้ไม่ว่าหัวของเราจะอยู่ตรวไหนเจ้า Android ก็รู้ได้เองแล้วล่ะ และยังมีการเพิ่มความสามารถของ OpenGL ที่ทำให้เราสามารถสร้างภาพกราฟฟิกแบบ 3 มิติบนตัว Android ได้ง่ายขึ้น และสวยงามดูมีมิติมากขึ้น (ความจริงความสามารถนี้มีคนใช้มานานแล้ว แต่เพิ่งมีอย่างเป็นทางการก็ใน Android Version นี้นี่เอง)
      3. ใช้งานได้ทุกอุปกรณ์ ถึงแม้ไม่ใช่ มือถือ หรือแท็บเล็ต โดยเจ้า แอนดรอยด์ เวอร์ชั่นนี้ สามารถนำไปใช้ได้กับอุปกรณ์ทุกอย่าง ย้ำว่าทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น Smartphone, Tablet, Computer, เครื่องซักผ้า, ทีวี หรือจะเป็นเครื่องใช้ในบ้านอะไรก็แล้วแต่ Android ลงได้หมด ขอแค่ให้มี CPU Rom Ram และไฟฟ้าให้มันก็พอ




ประวัติความเป็นมาของแท็บเล็ต







เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอมขอขอบคุณภาพประกอบจาก  Youtube.com โพสต์โดย paleofuture

          หากจะพูดถึงแท็บเล็ตแล้ว แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่จะต้องนึกถึง iPad ก่อนใครเพื่อน เพราะเป็นแท็บเล็ตเจ้าแรกของโลก ที่เพิ่งจะแจ้งเกิดในฐานะ เทคโนโลยีล้ำสมัย ไปเมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งแน่นอนว่า เราเข้าใจกันมาโดยตลอดว่า แท็บเล็ตเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งพัฒนาขึ้นมาเพียง 2 ปีเท่านั้น

          แต่ใครเลยจะรู้ว่า จริง ๆ แล้ว แท็บเล็ตถูกคิดค้นมากว่า 17 ปีแล้ว หรือก็คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 เลยทีเดียว          เมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา เว็บไซต์เดลิเมล ของอังกฤษ รายงานว่า พบเทคโนโลยีแท็บเล็ต ปรากฎอยู่ในวีดีโอที่ถ่ายทำตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 แถมรูปร่างหน้าตา ดีไซน์ทุกอย่างเหมือนกับ iPad อย่างไม่มีผิดเพี้ยน          โดยวีดีโอดังกล่าว ถ่ายทำโดยบริษัทเทคโนโลยี "ไนท์ ริดเดอร์" ซึ่งได้สร้างแท็บเล็ตจำลองขึ้นมาเครื่องหนึ่ง และอธิบายว่า นี่คือการเปลี่ยนหนังสือพิมพ์กระดาษให้กลายเป็นหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำให้มนุษย์สามารถติดตามข่าวสารต่าง ๆ ได้ผ่านแท็บเล็ตขนาดเท่าหนังสือเครื่องนี้ ซึ่งในวีดีโอนี้ ได้แสดงภาพจำลองการใช้แท็บเล็ตในชีวิตประจำวัน พร้อมกับมีการอธิบายในวีดีโอว่า "เจ้าแท็บเล็ตนี้จะเป็นคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ ที่ถูกย่อส่วนลงให้แบนและพกพาไปไหนต่อไหนได้ แต่มันอาจจะดูเหมือนยากสักหน่อย กับการเปลี่ยนหนังสือพิมพ์กระดาษเป็นหนังสือพิมพ์ดิจิตอลได้ แต่เราคาดว่ามันเป็นเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตแน่นอน แท็บเล็ตที่เห็นนี้ก็จะมีน้ำหนักเบา น้อยกว่า 1 กิโลกรัม สะดวกต่อการพกพา และเราสามารถเขียนอะไรลงไปในกระดาษดิจิตอลนี้ได้ รวมถึงสามารถดูวีดีโอ ฟังเพลง และทำอะไรอีกหลาย ๆ อย่างในเครื่องเดียวกัน และอีกไม่นานเทคโนโลยีนี้ก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันคนทั่วโลกอย่างแน่นอน"





           และจากวีดีโอดังกล่าวนี้ ได้ทำให้เห็นว่า เทคโนโลยีที่ใคร ๆ ต่างคิดว่ามันยากที่จะเป็นไปได้ในสมัยนั้น ได้กลายเป็นจริงขึ้นมาแล้ว เพราะในเวลา 15 ปีต่อมา แท็บเล็ตรูปร่างหน้าตาเหมือนกับ "หนังสือพิมพ์ดิจิตอล" ที่นำเสนอในวีดีโอ ก็ถูกพัฒนาขึ้นจริงและออกวางจำหน่ายโดยบริษัทแอปเปิ้ลเป็นเจ้าแรก และสามารถเป็นได้ทั้งหนังสือพิมพ์ดิจิตอล เครื่องเล่นวีดีโอ เครื่องเล่นเพลง และฟังก์ชั่นอำนวยความสะดวกมากมาย ที่สำคัญยังมีน้ำหนักเบากว่า 1 กิโลกรัมตามที่วีดีโอได้ระบุไว้อีกด้วย นอกจากนี้ ดูเหมือนว่าอีกไม่นาน มันก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันคนทั่วโลกจริง ๆ อย่างที่เคยคาดการณ์กันไว้เช่นกัน



คลิป แท็บเล็ต หรือ หนังสือพิมพ์ดิจิตอล เมื่อปี พ.ศ.2537








ไม่มีความคิดเห็น: