คลังบทความของบล็อก

@ แอปพลิเคชันคืออะไร

@ โครงการแท็บเล็ตพีชีเพื่อการศึกษาไทย

@ โครงการแท็บเล็ตพีชีเพื่อการศึกษาไทย
OTPC

โครงการแท็บเล็ตพีชีเพื่อการศึกษาไทย

ที่มา http://www.otpc.in.th/aboutus.html



1. ความเป็นมา
จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพของเด็กวัยเรียน ให้มีความรู้ทางวิชาการ ทักษะและสติปัญญาที่สามารถศึกษาหาความรู้และ ต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถปรับตัวให้รู้เท่าทันกับข่าวสารภายใต้บริบทแห่งการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็ว  จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาไปสู่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตต่อไป  รัฐบาลภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อ  วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554 โดยมีนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรกข้อ 1.15 จัดหาเครื่องแท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) ให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ.2555 ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม ตามหลักสูตรบรรจุลงในแท็บเล็ตพีซี รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐาน การให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั้น

  
ในการนี้  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ตลอดจนผู้บริหารระดับนโยบายของทุกหน่วยงาน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือ กันหลายครั้ง เพื่อนำนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และมอบหมายภารกิจที่แต่ละภาคส่วนต้องเร่งดำเนินการ ให้แล้วเสร็จภายในเงื่อนเวลาที่กำหนด  รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการทำการวิจัยนำร่อง (pilot project) เพื่อทดลองความเป็นไปได้ก่อนที่จะขยายผลสู่การปฏิบัติจริง  การดำเนินโครงการลักษณะดังกล่าว เป็นการเตรียมการรองรับ ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและนับวันจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กับชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมมากขึ้น ในขณะเดียวกันประเทศไทยเรากำลังจะก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน เต็มรูปแบบในปี 2558  จึงนับได้ว่ารัฐบาลได้ดำเนินการในช่วงเวลาที่เหมาะสมซึ่งนับเป็นโครงการในระดับ flagship ของรัฐบาล  จึงได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ   กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร  กระทรวงต่างประเทศและสำนักนายกรัฐมนตรี  ร่วมกันรับผิดชอบในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย (One Tablet Per Child)  มิใช่เป็นเพียงเครื่องมือให้กับนักเรียนใช้เรียน แทนหนังสือเรียนเท่านั้น  แต่ความเป็นจริงแล้วแท็บเล็ตพีซีนี้สามารถทำอะไรได้อย่างมากมาย  ขึ้นอยู่กับครู  ผู้บริหารและผู้ปกครองจะนำเครื่องมือนี้ไปใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตามการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งความรู้ต่าง ๆ เป็นการสร้างความตื่นตัวให้กับเด็ก เยาวชนและประชาชนทุกระดับ   จึงนับได้ว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ในการกระตุ้นให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างเด็กเล็กกับพ่อแม่ผู้ปกครองซึ่งยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว   ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวต่าง ๆ ในโลกกว้างและยังสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างเด็กในเมืองกับเด็กในชนบท สร้างโอกาสและพัฒนาคุณภาพ    ทางการศึกษาโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถใช้ได้ในรูปแบบที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการการเรียนรู้รายบุคคล  นอกจากนั้น เหตุผลที่ให้เด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ใช้แท็บเล็ตพีซีก่อนเพราะเป็นวัยที่สามารถเรียนรู้ได้เร็วตามพัฒนาการทางสมองที่เหมาะสม  จะทำให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข และสามารถสร้างสิ่งที่ดีให้กับตนเองและสังคมได้ในอนาคต
  
2.เป้าหมาย
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกคน จำแนกตามสังกัดได้ดังนี้
ที่
สังกัด
โรงเรียน
ห้องเรียน
นักเรียน
ครูประจำชั้น
งบประมาณ
1
2
3
4
5
6
7
8
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน(สช.)
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.)
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (อปท.)
สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
สำนักการศึกษาเมืองพัทยา
กรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการ (พม.)
28,413
2,187
30
176
804
430
10
3
33,611
5,550
84
186
1,643
1,179
36
3
584,368
183,340
3,785
3,165
50,000
39,000
1,393
39
40,864
5,550
84
186
1,643
1,179
36
3
1,182.65
428.14
12.91
1.12
170
-
-
-
รวม
32,053
42,292
865,090
49,545
1,794.82

3. วัตถุประสงค์
3.1 สร้างโอกาสและความเท่าเทียมกันทางการศึกษา (Education Equality) ให้เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกคน ได้ใช้แท็บเล็ตพีซีเพื่อการเรียนรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตามความสนใจ
3.2 ยกระดับคุณภาพการศึกษา (Education Quality) ให้เด็กอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น และสนุกกับการเรียนรู้ไม่จำกัดเวลาและสถานที่

4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
4.1 กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบดำเนินโครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย ด้านการประสานข้อมูลสารสนเทศของทุกโรงเรียนทุกสังกัดที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การพัฒนาหลักสูตรและเนื้อหา ตลอดจนการคัดเลือกเนื้อหาจากแหล่งต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละช่วงชั้นในลักษณะ Digital Content เพื่อบรรจุลงในเครื่องแท็บเล็ตพีซี การวิจัยและพัฒนา การพัฒนาบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การประชาสัมพันธ์ การเตรียมห้องเรียน การลงทะเบียนและจัดส่งให้ถึงตัวนักเรียน การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องแท็บเล็ตพีซี การซ่อมเมื่อพ้นระยะเวลาประกัน การติดตามประเมินผล และการรายงานความก้าวหน้าของโครงการ เป็นต้น
4.2 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านการกำหนดคุณลักษณะเครื่องแท็บเล็ตพีซี การดำเนินงานจัดซื้อ การตรวจรับ การแปลงข้อมูลเพื่อใช้ในเครื่องแท็บเล็ตพีซี และการรายงานความก้าวหน้าของโครงการ เป็นต้น
4.3 กระทรวงต่างประเทศ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบอำนวยความสะดวกทางด้านศุลกากรเมื่อเครื่อง แท็บเล็ตพีซีเดินทางมาถึงประเทศไทย การติดต่อประสานงานกับประเทศคู่ค้า การตรวจสอบความถูกต้องของสัญญาและเงื่อนไขทางการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น
4.4 สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านประสานข้อมูลทุกภาคส่วนเพื่อร่วมตัดสินใจและแก้ปัญหา รับฟังรายงานความก้าวหน้าของโครงการและการประชาสัมพันธ์โครงการ


5. แผนการดำเนินงาน
เพื่อให้การดำเนินงาน “โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย” มีการบริหารการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยแผนงาน กิจกรรมการดำเนินงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน ที่สามารถตรวจสอบ ตลอดจนติดตามประเมินผลได้ โดยมีกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรม ดังนี้
5.1 การจัดหาเครื่องแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย ปีงบประมาณ 2555
     5.1.1 การจัดซื้อเครื่องแท็บเล็ตพีซี
     จัดหาเครื่องแท็บเล็ตพีซีให้แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2555
     5.1.2 การควบคุมการผลิตเครื่องแท็บเล็ตพีซี
     ควบคุมการผลิตเครื่องแท็บเล็ตพีซีให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดโดยครบถ้วน และผู้ใช้สามารถใช้งานเครื่องแท็บเล็ตพีซี  
     ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     5.1.3 การส่งมอบเครื่องแท็บเล็ตพีซีจากผู้ผลิต
     ส่งมอบเครื่องแท็บเล็ตพีซีจากผู้ผลิตได้ตามแผนการส่งมอบที่กำหนดไว้
     5.1.4 การส่งมอบเครื่องแท็บเล็ตพีซีจากสำนักงานเขตพื้นที่ไปยังโรงเรียนทุกสังกัดที่แสดงเจตจำนงเข้าร่วมโครงการ
     ส่งมอบเครื่องแท็บเล็ตพีซีจากสนามบินสุวรรณภูมิไปยังโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ
     โดยบริษัทพัสดุภัณฑ์ไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบการขนส่งไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
     เป็นผู้แจกจ่ายให้โรงเรียนทุกสังกัด (สพฐ. สช. สกอ.) ซึ่งจะทยอยขนส่งไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบทุกเขตพื้นที่การศึกษาภายในประมาณ
     วันที่ 10 สิงหาคม 2555
     5.1.5 การพัฒนาระบบโครงข่ายไร้สาย (Wi-Fi Network) และ พัฒนาศูนย์ควบคุมการดำเนินงาน และติดตามประเมินผล
     ให้มีการพัฒนาระบบเครือข่ายไร้สายในโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานซึ่งสามารถรองรับการใช้งานได้
     ในปริมาณมาก
     โดยจัดสร้างฐานข้อมูลของ Access Point เพื่อทำหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลคลื่นความถี่และพัฒนาเทคโนโลยี Cloud Computing
     เพื่อรองรับโปรแกรมประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน รวมถึงจัดตั้งศูนย์ควบคุม
     ติดตามประเมินผลในส่วนกลางเพื่อควบคุมและกำกับการใช้คอมพิวเตอร์พกพาของเด็กนักเรียน
     5.1.6 การสื่อสารและประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการ
     ดำเนินการจัดระบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการดำเนินต่อสาธารณชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดทำสื่อและรายการต่างๆ
     เพื่อประชาสัมพันธ์
     และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ให้ให้แก่ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง
     และประชาชนทั่วไป

5.2 การพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน การพัฒนาบุคลากร
     5.2.1 งานด้านพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน
• จัดทำและพัฒนาเนื้อหาตามหลักสูตรในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ (e-content) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑เพื่อบรรจุลงในเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) โดยพิจารณาเนื้อหาสาระให้เหมาะสม
• จัดทำและพัฒนาเนื้อหาตามหลักสูตรในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ (e-content) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ - ประถมศึกษาปีที่ ๖ เพื่อบรรจุลงในเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)
• ออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละกลุ่ม แต่ละวัย และตามสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา
• ออกแบบและพัฒนาคู่มือเพื่อใช้ในการเรียนการสอนสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)

      5.2.2 งานด้านพัฒนาบุคลากร
• จัดฝึกอบรมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) เพื่อจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแก่ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของสถานศึกษาทุกสังกัด
• จัดประชุมสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์ ทุกสังกัด เพื่อการสนับสนุนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) และการบริหารจัดการด้านหลักสูตรและเนื้อหา การจัดการเรียนการสอน และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้มีความพร้อมในการใช้งาน
• จัดประชุมสัมมนาผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อสนับสนุนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ของนักเรียน
• จัดอบรมผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา และผู้ตรวจราชการกระทรวง ในการบริหารจัดการ สนับสนุน ซ่อมแซม และติดตามประเมินผล

      5.2.3 งานด้านการวิจัย นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงาน 

• นิเทศและติดตามการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (แท็บเล็ต) ให้กับครูผู้สอน
• สำรวจความเห็นเกี่ยวกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)
• สรุปประเมินผลและรายงานบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
• นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกคนได้รับสิทธิและโอกาสที่จะเข้าถึงองค์ความรู้ผ่านวิธีการและสื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย สนุกสนาน เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่ถึงพร้อมด้วยความรู้ คุณธรรม จริยธรรม สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นสุข
• นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่พึงประสงค์นำไปสู่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 คือ เป็นคนใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีความรับผิดชอบ เกิดทักษะในการติดต่อ สื่อสาร สร้างสรรค์และอยู่ร่วมกับผู้อื่น อันนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ของ 5 วิชาหลักที่สูงขึ้น
• โรงเรียนมีเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ที่มีประสิทธิภาพสำหรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนทั้งในระบบออนไลน์ และออฟไลน์
• โรงเรียนมีเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ที่มีประสิทธิภาพสำหรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนทั้งในระบบออนไลน์ และออฟไลน์ รวมถึงมีบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายที่เพียงพอสามารถรองรับการจัดการเรียนการสอนได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)

@.10 ประเทศ ความเร็วอินเตอร์เน็ตสูงสุดของโลก


10 ประเทศ ความเร็วอินเตอร์เน็ตสูงสุดของโลก

  

 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม เว็บไซต์ netindex.com ได้เปิดเผยการประมวลผลประเทศที่มีความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยเร็วที่สุดในโลก ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประเทศฮ่องกงมีความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสูงสุดในโลกถึง 42.73 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps : Mega bit per second) เลยทีเดียว
          ทั้งนี้ ผลการทดสอบนี้มาจาก Speedtest.net ซึ่งเป็นดัชนีเปรียบเทียบและจัดลำดับความเร็วในการดาวน์โหลดของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก เป็นเวลากว่า 30 วัน โดยมีระยะห่างระหว่างผู้ใช้และเซิฟเวอร์ไม่เกิน 300 ไมล์
สำหรับรายชื่อ 10 อันดับประเทศที่มีความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสูงสุดมีดังนี้
          1. ฮ่องกง 42.73 เมกะบิตต่อวินาที
          2. อันดอร์รา 36.47 เมกะบิตต่อวินาที
          3. เกาหลีใต้ 34.31 เมกะบิตต่อวินาที
          4. ไต้หวัน 33.76 เมกะบิตต่อวินาที
          5. สิงคโปร์ 33.61 เมกะบิตต่อวินาที
          6. ลิทัวเนีย 33.49 เมกะบิตต่อวินาที
          7. ญี่ปุ่น 33.46 เมกะบิตต่อวินาที
          8. มาเก๊า 32.99 เมกะบิตต่อวินาที
          9. เนเธอร์แลนด์ 30.16 เมกะบิตต่อวินาที
          10. ลัตเวีย 28.36 เมกะบิตต่อวินาที
          ส่วนประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 59 ซึ่งมีความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 8.72 เมกะบิตต่อวินาที ขณะที่อันดับสุดท้าย หรือ อันดับที่ 178 เป็นของเนปาลซึ่งมีความเร็วอินเทอร์เน็ตเพียง 0.95 เมกะบิตต่อวินาที
เรียบเรียงข้อมูลและภาพโดยกระปุกดอทคอม
ขอบคุณกระปุกดอทคอม
ขอบคุณข้อมูล netindex.com

     

@ รู้ไว้ไม่เสียหลาย ข้อดีข้อเสียของแท็บเล็ต


รู้ไว้ไม่เสียหลาย 

ข้อดีข้อเสียของแท็บเล็ต


ที่มาข้อความ http://ta6let.com/advantage




ข้อดี
  1. แท็บเล็ตเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาให้กับเด็ก ๆ

  1. ทำให้ครูสามารถเข้าถึงรูปภาพ วีดิโอคลิป และข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก เพื่อใช้สร้างบทเรียนที่น่าสนใจให้แก่นักเรียน ทำให้นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น


  1. เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เด็ก ๆ ได้ศึกษาวัฒนธรรมต่างแดนผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา



  1. ใช้เป็นวิดีโอแชทกับชาวต่างชาติเพื่อฝึกภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องเขินอายเหมือนกับการสื่อสารต่อหน้าจริง ๆ



  1. ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุกและเข้าใจง่ายขึ้น แตกต่างจากการเรียนจากหนังสือซึ่งน่าเบื่อและเข้าใจยากกว่า



ข้อเสีย
อาจมีเด็กจำนวนมากติดอินเทอร์เน็ตถึงขั้นที่ต้องพบจิตแพทย์ ดังที่ปรากฏในประเทศเกาหลีใต้นอกจากนี้ นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่า



  1. เด็กจะอยู่คนเดียว เล่นคนเดียว หรือเล่นกับเพื่อนสองสามคน
    ขาดหรือออกกำลังกายน้อยลง




  1. มีปัญหาเรื่องสายตา
    กล่าวคือมีปัญหาด้านสุขภาพ


  1. เป็นการปูพื้นฐานให้เด็กคุ้นเคยกับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ทำให้ผลการเรียนตกต่ำลง เนื่องจากติดเกมส์


@. คำถามจากครูและผู้อำนวยการโรงเรียน

@. คำถามจากครูและผู้อำนวยการโรงเรียน


ที่มา http://www.otpc.in.th/faq01.html

ข้อควรทราบและควรปฏิบัติ เนื้อหาในเว็บไซด์ของโครงการ OTPC เป็นการตอบปัญหาในเชิงนโยบายระดับประเทศ ผู้ที่นำไปเผยแพร่ จะต้องมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลจาก เว็บไซด์ www.otpc.in.th อย่างชัดเจนโดยการนำเสนอเนื้อหาดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้องไม่มีการดัดแปลงข้อมูลของเว็บไซด์ใดๆ ทั้งสิ้น โดยไม่ได้รับอนุญาต


1.เครื่อง Tablet ลงสื่อการสอนหรือหนังสือ หรือ ไฟล์อื่นๆ ได้หรือไม่

ตอบ เครื่องแท็บเล็ตสามารถลงไฟล์อื่นๆ ได้ โดยผ่านสาย

 Data Link เมื่อทำการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 

  

2.สามารถลบไฟล์สื่อการเรียนการสอน (contents)

ที่ทาง สพฐ.บรรจุไว้ได้หรือไม่

ตอบ สามารถลบได้หากต้องการพื้นที่ในการ วางสื่อประเภทอื่น แต่เครื่องของนักเรียนดังกล่าวจะไม่มีเนื้อหา ในการใช้เรียนร่วมกับ ครูและเพื่อนนักเรียนในชั้นเรียน

3.ถ้านักเรียนย้ายโรงเรียน เครื่อง Tablet ที่ประจำตัวนักเรียนต้องทำอย่างไร

ตอบ ถ้านักเรียนย้ายโรงเรียน นักเรียนจะถือ แท็บเล็ตเครื่องเดิมติดตามตัวไปด้วย

4.ในกรณีที่นักเรียนสูญหายไม่มาโรงเรียนครูตามตัวไม่พบ เครื่อง Tablet ที่ประจำตัวของนักเรียน ต้องส่งคืนใคร

ตอบ ครูต้องนำส่งคืนโรงเรียน เพื่อมอบส่งคืนให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่โรงเรียนสังกัดอยู่ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จะนำเครื่องดังกล่าวส่งเข้าคลังส่วนกลาง ของ สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการคำถามจากครูและผู้อำนวยการโรงเรียน   

5.ถ้าเปิดมาเครื่องเสียภายใน 7 วัน ต้องทำอย่างไร ส่งซ่อมหรือเปลี่ยนที่ไหน

ตอบ เมื่อเปิดเครื่องมาแล้วเสียภายใน 7 วันหากสภาพเครื่องไม่มีการชำรุดหรือเป็นรอยขีดขวนที่ตัวเครื่องและ Touch Screen ในระดับต้น โรงเรียนสามารถนำไปเปลี่ยนได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่โรงเรียนสังกัด   


6.นักเรียน ป.1 ใช้จะยังมีหนังสือเรียนให้นักเรียนใช้ในห้องเรียนหรือไม่

ตอบ นักเรียนป. 1 ยังมีหนังสือเรียนในห้องเรียนเหมือนเดิม เนื่องจาก เครื่องแท็บเล็ตเป็นเพียงสื่อการสอนเสริมเท่านั้น 

7.ในเครื่อง Tablet จะสามารถนำ เกมส์ใส่ได้หรือไม่และจะมีมาตรการป้องกันอย่างไร

ตอบ เครื่องแท็บเล็ตไม่สามารถนำเกมส์ ใส่เข้าไปได้ เนื่องจากระบบของเครื่อง OTPC ไม่มี Google Play และมีรหัสผ่านเพื่อป้องกัน การ Install โปรแกรมเกมส์

8.มีมาตรการในการป้องกันการใช้ Wireless ในการเข้าเว็บโป๊ หรือไม่

ตอบ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีระบบ Firewall ป้องกันการเข้าเว็บโป๊ในระดับต้น

1.รัฐบาลจะจัดสรรซื้อ ปลั๊ก ที่ใช้ในการชาร์ตเครื่อง และ อุปกรณ์ห่อหุ้มให้หรือไม่

ตอบ เครื่องแท็บเล็ตมีซองหนังห่อหุ้มให้กับนักเรียนในการใช้งาน ส่วน ปลั๊กไฟที่ใช้สำหรับชาร์ตเครื่อง โรงเรียนจะต้องเป็นผู้จัดหาซื้อ 

10.เรื่องการลงโปรแกรม อัพเดทข้อมูลทาง สพป./สพฐ. ไม่มีความรู้หากจ้างคนที่เก่ง IT รัฐบาลสนับสนุนหรือไม่

ตอบ ในการพัฒนาโปรแกรม ในเครื่องแท็บเล็ตของ ป.1 มีชื่อระบบว่า Learning System (LSystem) ซึ่งเกิดจากการรวมตัว ของอาสาสมัคร วิศวกร ครู ระดับแนวหน้าของประเทศ รวมกันพัฒนาและบริจาคฟรีบรรจุในเครื่องแท็บเล็ตจำนวน 1 ล้านเครื่อง เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดการ เนื้อหา (Contents) ที่มีจำนวนมาก ของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานต่างๆ ให้มีไปในทิศทาง การจัดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเรียกว่าระบบ Knowledge Management (KM) ซึ่งการจ้าง บุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญอยู่ในระหว่างการดำเนินการ อาสาสมัครทีมพัฒนาระบบ LSystem เพื่อให้ใช้งานได้กับ ระบบของเครื่องแท็บเล็ต ม.1 และเครื่องแท็บเล็ต ของชั้นเรียนอื่นๆ ของกระทรวงศึกษาธิการต่อไป ทั้งนี้เพื่อนำระบบดังกล่าว เป็นระบบนำร่องให้กับประเทศไทย ซึ่งระบบที่พัฒนาเป็นระบบแรกในโลก มีการจัดการบริหารเนื้อหาที่หลากหลายต่างๆ ดังกล่าว

11.ครูมีความรู้ด้าน IT สามารถอัพเดทเวอร์ชั่นเองได้หรือไม่

ตอบ ระบบไม่เปิดให้ครูผู้ใช้งานหรือผู้ที่มีความรู้ด้าน IT สามารถอัพเดทเวอร์ชั่นเองได้ 

12.จากเครื่องแทปเล็ตที่แจกให้กับเด็กนักเรียน เปลี่ยนเป็น PC และติดตั้งไว้ที่ห้องเรียน พร้อมลงโปรแกรม เหมือนกับแทปเล็ต จะดีกว่าหรือไม่

ตอบ เนื้อหาที่นำใส่ไว้ในเครื่องแท็บเล็ต คณะนักพัฒนาระบบ LSystem ได้เตรียมไว้เพื่อให้สามารถเปิดดูได้บนเครื่อง PC 

ได้ด้วย


13. ถ้าปีหน้ามีการแจกเครื่องแท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้นป. 1 อีกครั้ง กระทรวงศึกษาธิการจะมีวิธีจัดการบริหาร เครื่องแท็บเล็ตครูอย่างไร

ตอบ โรงเรียนจะมีระบบบริหารจัดการพัสดุครุภัณฑ์ เป็นเครื่องยืมสอนของครูชั้น ป.1และชั้น ป.2